วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


1. บทนำ
   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำาให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม เช่น อาชญากรรมบนเครือข่าย หรือ การกระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรม 6 ประเภท ได้แก่ จารกรรมข้อมูลทางราชการทหารและข้อมูลทางราชการลับ จาก กรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกรรม จารกรรมเงิน และทำให้เกิดการติดขัดทางด้านพาณิชย์ การโต้ตอบเพื่อการ ล้างแค้น การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของระบบ และเสนอข้อมูลที่ผิดและการเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้


http://image.zoneza.com/images/14878it_2.jpg

2. ผลกระทบองเทคโนโลยีสารสนเทศ
   2.1 ผลกระทบทางบวก
          1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย เช่น การติดต่อผ่านธนาคารด้วยระบบธนาคารที่บ้าน (Home Banking) การทำงานที่บ้าน ติดต่อสื่อสารด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบันเทิงพักผ่อนด้วยระบบมัลติมีเดียที่บ้าน เป็นต้น
          2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง
เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง และที่เป็นเครือข่ายแบบไร้สายทำให้มนุษย์แต่ละคนในสังคมสามารถติดต่อถึงกันอย่างรวดเร็ว
          3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านที่เกี่ยวกับ สุขภาพและการแพทย์ แพทย์ที่อยู่ในชนบทก็สามารถวินิจฉัยโรคจากฐานข้อมูลความรู้ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางการแพทย์ในสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อเสียงได้ทั่วโลก หรือใช้วิธีปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในระบบทางไกลได้ด้วย
          4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย เกิดการสร้างผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือคนพิการให้สามารถพัฒนาทักษะและความรู้ได้ เพื่อให้คนพิการเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ผู้พิการจึงไม่ถูกทอดทิ้งให้เป็นภาวะของสังคม
          5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL) ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น ไม่ซ้ำซากจำเจผู้เรียนสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ด้วย ระบบที่เป็นมัลติมีเดีย นอกจากนั้นยังมีบทบาทต่อการนำมาใช้ในการสอนทางไกล (Distance Learning) เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาในชนบทที่ห่างไกล
          6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น เช่น การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) เพื่อช่วยในการพิมพ์เอกสาร การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบงานลักษณะต่างๆ
          7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่และหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ และช่องทางทางการค้าก็มีให้เลือกมากขึ้น เช่น การเลือกซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตและการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjvENhTosdlXYeiL9-XchnufCC3NROpjm2IbdiMdvjQk-6I8-bzagOWrh_YiNI202EsSyEs82OkzEQ652hgT-wqGM7lS5AbPAWH3d04WRSrSV6hXF0aowdU8AdgaRN67hdB3IGESUg0RSoL/s1600/eworld_300px.jpg

   2.2 ผลกระทบทางลบ
          1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เคยทำอะไรอยู่ก็มักจะชอบทำอย่างนั้นไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร บุคคลวิถีการดำเนินชีวิตและการทำงาน ผู้ที่รับต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงเกิดความวิตกกังกลขึ้นจนกลายเป็นความเครียด กลัวว่า เครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ทำให้คนตกงาน การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อลดต้นทุนการผลิต และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงการ ทำงานความ เปลี่ยนแปลงก่อให้เกิดความเครียด เกิดความทุกข์และความเดือดร้อนแก่ครอบครัวติดตามมา การดำเนินธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การทำงานต้องรวดเร็ว เร่งรีบเพื่อชนะคู่แข่ง ต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง หากทำไม่ได้ก็จะทำให้หน่วยงานหรือองค์กรต้องยุบเลิกไป เมื่อชีวิตของคนในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศต้องแข่งขันก็ย่อมก่อให้เกิดความเครียดสูงขึ้น
          2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งเป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้กับสังคมที่รับวัฒนธรรมนั้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น เช่น พฤติกรรมที่แสดงออกทางค่านิยมของเยาวชนด้านการแต่งกายและการบริโภค การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมส์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอารมณ์และจิตใจของเยาวชนเกิดการกลืนวัฒนธรรมดังเดิมซึ่งแสดงถึงเอกลักษณ์ของสังคมนั้นๆ
          3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน แต่เมื่อพิจารณาศิลธรรมของแต่ละประเทศ พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ด้วยจารีต ประเพณี และศิลธรรมดีงามของประเทศนั้นๆ การแพร่ภาพหรือข้อมูลข่าวสารที่ไม่ดีไปยังประเทศต่างๆ มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในประเทศนั้นๆ ที่นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ อยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผิดศิลธรรม จนกลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องในกลุ่มเยาวชน เมื่อเยาวชนปฏิบัติต่อๆ กันมาก็จะทำาให้ศิลธรรมของประเทศนั้นๆเสื่อมสลายลง
          4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน แต่ในอีกด้านหนึ่งการมีส่วนร่วมของกิจกรรมทางสังคมที่มีการพบปะสังรรค์กันจะมีน้อยลง สังคมเริ่มห่างเหินจากกัน การใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลทำให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือเกิดการศึกษาทางไกล โดยไม่ต้องเดินทางมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ระหว่างครูกับนักเรียนระหว่างกลุ่มคนต่อกลุ่มคนในสังคมก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมขึ้น
          5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผล
ต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การนำเอาข้อมูลบางอย่างที่เกี่ยวกับบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือยังไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้องออกสู่สาธารณชน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่นนี้ต้องมีกฎหมายออกมาให้ความคุ้มครองเพื่อให้นำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในทางที่ถูกต้อง
          6) เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้ และผู้ที่ยากจนก็ไม่มีโอกาสรู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่กระจายตัวเท่าที่ควร ก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมระหว่างชนชั้นหนึ่งกับอีกชนชั้นหนึ่งมากยิ่งขึ้น
          7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป มีการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข เศรษฐกิจการค้า และธุรกิจอุตสาหกรรม
          8) อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น เช่น ปัญหาอาชญากรรม ตัวอย่างเช่น อาชญากรรมในรูปของการขโมยความลับ การขโมยข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการ สารสนเทศที่มีการหลอกลวง รวมถึงการบ่อนทำาลายข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย
          9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษาบันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศีรษะ นอกจากนั้นยังมีผลต่อสุขภาพจิต เกิดโรคทางจิตประสาท เช่น โรคคลั่งอินเตอร์เน็ต เป็นโรคที่เกิดขึ้นในคนรุ่นใหม่ลักษณะ




http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/e-Procurement.jpg

3. ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
   3.1 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้ เราจะต้องวิเคราะห์และทำความเข้าใจถึงผลกระทบทางสังคมที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นเราอาจต้องการหาคำตอบว่า การที่มนุษย์ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีความจำเป็นต้องจดจำหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ต้องการติดต่อด้วยอีกต่อไป หรือเราอาจต้องการหาคำตอบว่า อินเตอร์เน็ตมีผลอย่างไรต่อการศึกษา หรือคำตอบจากคำถามที่ว่า โทรทัศน์วงจรปิดกระทบกับสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่
   3.2 มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
ภายใต้มุมมองแบบนี้ มีความเห็นว่าสังคมส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี ทั้งนี้โดยอาศัยแรงขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เป็นเหตุปัจจัยในการออกแบบเทคโนโลยียกตัวอย่างเช่น การออกแบบให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายๆ งานได้ในขณะเดียวกัน มีผลมาจากประเด็นทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประหยัดทรัพยากรของหน่วยประมวลผลกลาง หรืออีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ กระแสความต้องการการสื่อสารที่รวดเร็วได้ผลักดันให้เกิดอินเตอร์เน็ตขึ้น
   3.3 มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์
ภายใต้มุมมองในลักษณะนี้จะมองว่าเทคโนโลยีสานสนเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ จะถูกกำหนดว่าเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีซึ่งในโลกนี้ก็มีเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าหลายรูปแบบแต่เทคโนโลยีที่มีความเสถียร จะเป็นทางเลือกและมนุษย์จะใช้เป็นกลไกในการดำรงชีวิต ดังเช่น คนที่มีและคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะแตกต่างจากคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว การที่มีโทรศัพท์มือถือแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่สารมารถติดต่อได้สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายกว่าคนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือติดตัว จะเห็นได้ว่ากลไรการดำรงชีวิตของคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้นแตกต่างกัน เช่นเดียวกัน กลไรในการดำรงชีวิตของสังคมที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็จะแตกต่างจากสังคมที่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น


http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/49033-01.jpg

4. แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
   4.1 ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic) ในตัวผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะระมัดระวังไม่สร้างความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่น และในขณะเดียวกันยังตั้งใจที่ทำกิจกรรมจะเสริมสร้างคุณงามความดี และเป็นประโยชน์อยู่เสมอ ในขณะเดียวกันผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พึงทำการศึกษาหาความรู้ว่ากิจกรรมประเภทใดเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และกิจกรรมประเภทใดสามารถสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้
   4.2 สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพึงรำลึกอยู่เสมอว่าในสังคมของเราวันนี้ยังมีคนไม่ดีปะปนอยู่มากพอสมควรเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่จะอำนวยความสะดวกเท่านั้น หากผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่ดี เทคโนโลยีก็ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่ไม่ได้ ไม่เป็นที่พึงปรารถนาให้รุนแรงขึ้นได้ การสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ไม่ลุ่มหลงต่อกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดจนมากเกินไป ตลอดจนการคิดไตร่ตรองให้รอบคอบ ถือว่าเป็นข้อปฏิบัติที่จำาเป็นในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้
   4.3 ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี แนวทางนี้มีหลักอยู่ว่าวัฒนธรรมที่ดีไว้ เป็นสิ่งจำเป็นในยุคสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยกย่องในผลงานของผู้อื่น เป็นวัฒนธรรมที่ดีและพึงปฏิบัติในยุคสารสนเทศ ที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศของผู้อื่นพึงให้เกียรติแหล่งข้อมูล ด้วยการอ้างอิงถึง (Citation) เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์
   4.4 การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน ผู้รับผิดชอบในการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและสมาชิกของสังคมพึงตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและหาทางป้องกันภัยอันตรายเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การติดตั้งระบบเพื่อกลั่นกรองข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน การให้ความรู้เรื่องภัยอันตรายจากอินเทอร์เน็ตต่อสังคม การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภัยอันตรายที่มากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อให้สังคมมีความเข้มแข็งและสามารถดำรงอยู่กับเทคโนโลยีได้อย่างยั่งยืน
   4.5 ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้นำเสนอมาตรฐานที่เกี่ยวกับการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ถึงแม้ว่าเจตนาเดิมของมาตรฐานเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ให้กระบวนการด้านการบริหารงาน แต่เนื่องจากมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ได้ผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ส่งผลทำให้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานหลายประการสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ ยกตัวอย่าเช่น มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ISO/IEC 17799) มีการกำหนดเรื่องความมั่นคงปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมขององค์กร การควบคุมการเข้าถึง และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย เป็นต้น การศึกษาแนวทางการเข้าสู่มาตรฐานและการนำาไปปฏิบัติจะสามารถช่วยลดภัยอันตรายจากเทคโนโลยีได้ในระดับหนึ่ง
   4.6 ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะรุนแรง และไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น การกำหนดให้ปฏิบัติตามจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎหมาย และบทลงโทษของการละเมิด เป็นสิ่งจำเป็นผู้บริหารระบบสารสนเทศจะต้องระบุข้อกำหนดทางด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับบทลงโทษ หรือสัญญา ที่จะต้องปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะมากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางลิขสิทธิ์ ในการใช้งานทรัพย์สินทางปัญญา การป้องกันข้อมูลส่วนตัวของพนักงาน เป็นต้น



http://learners.in.th/file/gobori/internet.jpg

5.ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
ในปัจจุบันยังมีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ ค่านิยม จุดยืน และสิทธิที่บุคคลพึงมีพึงได้ ตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการใช้กล้องวงจรปิด การใช้คุกกี้ในอินเทอร์เน็ต ต่อสิทธิในเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย์ หรือข้อถกเถียงในเรื่องผลกระทบจากความแตกต่างในเรื่องชนชั้นทางสังคม ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล เช่น โอกาสในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียนในชนบท หรือในกรณีข้อถกเถียงในเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ต่อเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
   5.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
จากมุมมองที่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็ส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีผู้วิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศถูกสร้างขึ้นโดยสังคม จึงถูกแฝงประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างแยบยล ดังเช่น การสร้างภาพของพระเอกหรือผู้ร้ายในภาพยนตร์ หรือการเกิดของกระแสโอเพนซอร์สเพื่อคานอำนาจกับซอฟต์แวร์ให้สิทธิการใช้ เป็นต้น การสร้างจริยธรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในแต่ละสังคมจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้ไว้ด้วย
   5.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์
นอกจากกรณีของเรื่องทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึก ที่มีต่ออุปกรณ์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและการเมืองดังที่กล่าวมาแล้ว ความเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะในกรณีของการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในเรื่องของโลกเสมือนจริง (virtuality)


http://www.lpc.rmutl.ac.th/lc/Photo_course/45437/5342original_intrane3.gif

6. การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
   บรรดาอารยะประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ตื่นตัวและกำหนดทิศทางให้กับกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยได้มีการประกาศนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบาย “Toward the Age of Digital Economy” สหรัฐอเมริกาได้ประกาศนโยบาย “A Framework for Global Electronic Commerce” และสหภาพยุโรปได้ประกาศนโยบาย “A European Initiative in Electronic Commerce” เป็นต้น
นอกจากนั้นบรรดาองค์กรระหว่างประเทศต่างก็ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำานโยบายและตัวบทกฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ในเรื่อง
นี้ได้ถูกดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำานักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้
   ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำาข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ
   ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
   ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
   ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำานวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
   จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ
   ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน
   ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง
   ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
   ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต
   ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์


http://www.ctc.ru.ac.th/home/images/stories/hijack.jpg

7. กรณีศึกษาอาชญากรรมและกฎหมายไอที (http://www.lawyerthai.com/articles/it/006.php)
          กรณีที่ 1 : นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชา เปิด e-mail ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาอ่านได้หรือไม่?
ในการใช้งาน e-mail ภายในองค์กรนั้น จะมีคำถามว่า ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีการกำหนด User name และ Password ให้กับคนในองค์กร แล้วถ้านายจ้างหรือผู้บังคับบัญชารู้ User name และ Password ของคนในองค์กรแล้ว นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชามีสามารถเปิดอ่าน e-mail ของลูกจ้างได้หรือไม่ ถ้าในประเทศสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาขององค์กรนั้นๆ สามารถเปิดดูและตรวจสอบ e-mail ของลูกจ้างได้รวมทั้งสามารถดูแฟ้มข้อมูลต่างๆ ในฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์ของบริษัทได้ หากเป็น e-mail ที่เป็นขององค์กร เพราะเป็น e-mail สำหรับการปฏิบัติงาน แต่หากเป็น e-mail อื่นที่ไม่ใช่ขององค์กร นายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดอ่าน หากนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาละเมิดสิทธิ์ ลูกจ้างสมารถฟ้องร้องนายจ้างหรือผู้บังคับบัญชาให้ชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งได้

          กรณีที่ 2 : การ Copy รูปภาพ/ข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกกรณีหรือเปล่า?
หากต้องทำการ copy รูปภาพหรือข้อความบนเว็บไซต์ของผู้อื่นมาใช้งาน จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของเสียก่อน เพราะหากนำมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย หากนำไปใช้เพื่อการค้าอาจถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้ อย่างไรก็ตามก็มีข้อยกเว้นสำหรับกรณีเพื่อการศึกษา โดยต้องมีการอ้างอิงและขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์
          กรณีที่ 3 การหมิ่นประมาททางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้หรือไม่?
หากมีการหมิ่นประมาทบุคคลผ่านทางอินเทอร์เน็ต สามารถฟ้องร้องได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง ซึ่งตามกฎหมาย การหมิ่นประมาททางแพ่งหมายถึง “ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนความจริง และการกล่าวหรือไขข่าวนั้นทำให้เกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของบุคคลอื่น ซึ่งแม้ว่าผู้ที่หมิ่นประมาทจะไม่รู้ว่าข้อความที่ตนกล่าวหรือไขข่าวนั้นไม่จริง แต่หากว่าควรจะรู้ได้ก็ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น”
          กรณีที่ 4 : การทำ Hyperlink ยังไงไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์?
การอ้างอิงเว็บไซต์ของผู้อื่น มาใส่ไว้ในเว็บของเรา มีโอกาสละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีการมองว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าการเชื่อมโยงนั้นเป็นการเชื่อมโยงต่อไปยังหน้าแรกของเว็บผู้อื่นก็สามารถทำาได้ซ้ำทำแต่ควรขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ให้เรียบร้อย หากเป็นการเชื่อมโยงลึกลงไปถึงเนื้อหาส่วนอื่นของเว็บผู้อื่นจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ใครนำเว็บของเราไปเชื่อมโยงอาจจะระบุไว้ที่เว็บเลยว่า ไม่อนุญาตจะทำให้ผู้ที่เข้ามาเชื่อมโยง หากยังมีการละเมิดสิทธิ์ก็จะมีความผิดโดยไม่ต้องตีความ
          กรณีที่ 5 : โหลดโปรแกรมหรือเพลงทางอินเทอร์เน็ตผิดกฎหมายหรือเปล่า?
การ Download โปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตมาใช้งานแบบถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็ต่อเมื่อโปรแกรมที่ผู้ใช้ Download มาใช้นั้น ถูกระบุว่าเป็นประเภท Freeware, Shareware สำหรับการโหลดเพลงทางอินเทอร์เน็ตสามารถทำได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากได้รับอนุญาต แต่โดยทั่วไปแล้วค่ายเพลงมักจะไม่อนุญาต ยกเว้นจะทำเพื่อการค้า ส่วนการ Upload เพลงขึ้นบนอินเทอร์เน็ตให้คนทั่วไปโหลดได้ฟรีๆ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นคดีอาญา







https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGj9U2P67eaZ9EYvXbU_4d0nBSfVzj-RxF3sCUHywUDL5wwUgvgtzuq1ZgplVITQju7CaEr2qKsp88a7nUMZnf5kCwtqlkpVprIv7rz4GuB2aOBUDXDCqYwZ8QMerH0u_ZM7zggnVRgBI/s1600/socialMedia.jpg





วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

1. บทนำ
  แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น
เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้

- ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียง
ลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
- ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง
โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQBWz9OYRiv3D0a3tjUY9ciiHuY6Q9yRNDD7NlIGsv9xvMwrQgHSUrCanyUf6VeKEH99cIHljExM5ruTBA-wlcwcLr-OFiRG0DNp4V2gLXn3YJ19tkZqIFsZKsvK_339VpdVe9Qj6Gl0Q/s1600/pic1_01_1.jpg

2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjFvlC1gXWEI99MnL2i4eVBSy6aihVGetrH1ET-JkBQUiHIYNq0OIlkxnsuIgSKopGzfmiGQkWsKFUTzYckHRuEhO66FvieAA7yBBM7XGRV2Ln4Q06DYG_axf4BeZjbC0MY4aieoDRLnq0/s1600/ICT+Logo2.jpg


2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำและทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้อง
ต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นระบบประมวลผลรายการนี้มักเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกมากติดต่อกับ กิจการ เช่น การจองบัตรโดยสารเครื่องบิน การฝาก-ถอนอัตโนมัติ เป็นต้น

2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือ
เป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ


http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/369/185/large_nudang.png?1353466875

  เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแลว้ จะเปน็ การยากอย่างยิ่งในการสือ่ สารสารสนเทศทัง้ นี้เพราะในภาวะปัจจุบันมสี ารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัว และมีความต้องการสารสนเทศทั้งในแง่ของความรวดเร็วและความถูกต้อง จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้

- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
- เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำ�นวณ
ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
- สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร
มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
- ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEirGyiqfoYu3LOUYUhWsh9J6yoyCidRDepgEf0Hoj8Q99KQhNZM61oAy9pH14NAqF7FtjwLjcMKHwnvrZ2YhcJXsV0H5pdHwAKte4cRjWMsfQHz3kc3TuPSMZAKzagHSG-U81HFvpkhCZDy/s1600/15551115.jpg

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่

4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานจะเห็นแล้วว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้มากมาย เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์

4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือ
บริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับนำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น หากไม่ได้วางแผนละควบคุมให้ดี กลับไปเลือกใช้เทคโนโลยีผิดแล้วจะเกิดความเสียหายได้มาก

4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกัน
ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่อง มาตรฐานทางด้านตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได้



4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใดนี่เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจน และทำให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหากับ ผู้บริหารองค์กรเพราะผู้บริหารองค์กรไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปมากนัก หรือเหตุใดลงทุนไปแล้วสามารถไม่ได้ผลตอบแทนเท่าที่ควร
4.5 การจัดองค์กร เมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ต่อไปก็จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้เข้มแข็งมากขึ้น
โดยคำนึงถึง
- หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคลากรที่เหมาะ
- ผลตอบแทนต่อบุคลากร

4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดี และต้องมี
หัวหน้าโครงการที่มีความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยี
สารสนเทศ และขณะเดียวกันก็สามารถทำงานให้ตัวเองได้ภายในกฏเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด
4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล การที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บ
ข้อมูลมาใช้เอง ทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้นต้องหาทางประสานงานให้ผู้ใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน

4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้น
เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำงานร่วมกับเราได้ ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมาเราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่บุคคลภายนอกบางคนอาจจะมีความประสงค์ร้าย คืออาจจะต้องการโจรกรรมข้อมูลของหน่วยงานไปใช้ หรือต้องการทำลายข้อมูลที่เราบันทึกเก็บไว้

4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจ ต้อง
พยามยามชี้ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุนและทำให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ
4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้
เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคม
ปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้องและสามารถจัดพิมพ์ฉบับได้เป็นจำนวนมาก เป็นต้น

- งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการ
เชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดยอัตโนมัติได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
- งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่าน
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
- งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าว
นี้ได้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และ
วีดิทัศน์ เป็นต้น
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์การบันทึกข้อมูล
เสียงโดยใช้ Sound Blaster เป็นต้น
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วย
ภาพและเสียง เป็นต้น

5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้านผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยเพื่อพัฒนา และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติการของ
เครื่องจักรในโรงงาน ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม ได้แก่
- อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ ได้ใช้คอมพิวเตอร์แบบรถยนต์ ปฏิบัติการการผลิต การขับเคลื่อน
การบริการ และการขาย รวมทั้งออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานในโรงงานได้ในรูปแบบ
หุ่นยนต์ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มสมรรถนะในการผลิต และลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน
- อุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมประเภทนี้ ใช้ระบบการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing) ในการจัดเตรียมต้นฉบับบรรณาธิกรณ์ตีพิมพ์ จัดเก็บ และจำหน่าย และสามารถพิมพ์ข้อมูลจากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) วีดิโอเท็กซ์ วัสดุย่อส่วนและเทเลเท็กซ์ได้ รวมทั้งการพิมพ์ภาพ
โดยใช้เทอร์มินัลนำเสนอภาพ (Visual Display Terminal)

5.3 การประยกุ ตใ์ ชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงนิ และการพาณชิ ย์ สถาบนั การเงนิ เชน่ ธนาคารได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่ และสามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้
5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์
โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น



https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS9ataqOiEGUOPdGaxqmo4S0-mfk3avuiCuynoUiAInuFJeWe9t

5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำ�มาประยุกต์ได้หลาย
ด้าน ได้แก่
- ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่ช่วย
ด้าน Patient record หรือ เวชระเบียน ระบบข้อมูลยา การรักษาพยาบาล การคิดเงิน มีลักษณะแบบจุลภาค
แต่สามารถขยายเป็นระดับมหภาคได้ เมื่อโรงพยาบาลทั่วประเทศแลกเปลี่ยน และส่งเวชระเบียนผ่านระบบโทรคมนาคมเป็นโทรเวชกลายๆได้
- ระบบสาธารณสุข ใช้ในการดูแลป้องกันโรคระบาดในท้องถิ่น เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเป็น
อหิวาตกโรคในหมู่บ้าน แพทย์และสาธารณสุขอำเภออาจตรวจค้นได้ว่าผู้ป่วยมาจากตำบลอะไร มีประชากรกี่คน เป็นชาย หญิง เด็ก เท่าไรเพื่อจะได้จัดหาวัคซีนไปฉีดป้องกันได้ทันที ระบบทำนองนี้อาจขยายไปสู่ ระดับอำเภอและจังหวัด

- ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) เป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์วินิจฉัยโรค และเริ่มผู้นำมาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ มากขึ้น เลยไปถึงเรื่องโรคพืชและสัตว์หลักการที่ใช้ คือ เก็บข้อมูลต่างๆไว้ให้ละเอียด แล้วใช้หลักปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial intelligence :AI มาช่วยวิเคราะห์ เป็นแนวคิดในการทำคอมพิวเตอร์ทำงานได้เหมือนคน

5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ

- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคอยอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายนั้นแล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทดสอบความเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็ต้องมีวิธีการอธิบายเนื้อหา
เพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาการถึงระดับใช้สื่อประสม และใช้เทคนิคต่างๆเพื่อให้การสอนบรรลุผลสัมฤทธิ์มากขึ้น
- การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงการใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct To Home : DTH) หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) โดยใช้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันทีเพื่อสอบถามข้อสงสัยหรือ
อธิบายคำสอนเพิ่มเติม

- เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำ�เครือข่ายการศึกษา เพื่อให้ครู อาจารย์ และนักเรียน
นักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายในโลก และใช้บริการต่างๆ ที่
เป็นประโยชน์ทางการศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเผยแพร่ และค้นหาข้อมูลใช้ในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

- การใช้งานห้องสมุด ในปัจจุบันห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนเกือบทุกแห่ง ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือในการให้การบริการใลักษณะเครือข่าย เช่น โครงการ PULINET (Provincial University Network) และโครงการ THAILINET(Thai Library Network) การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในห้องสมุด

- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น การจำลองแบบ การออกแบบวงจรไฟฟ้า การควบคุมการทดลองซึ่งอุปกรณ์ที่ทันสมัยในปัจจุบัน ต่างผนวกความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปด้วยแทบทั้งสิ้น
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร เช่น การจัดทำทะเบียนประวัติของนักเรียน นักศึกษาการเลือกเรียน การลงทะเบียนเรียน การแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กาแนะแนวอาชีพ และศึกษาต่อ ข้อมูลผู้ปกครอง หรือ ข้อมูลครู

6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)
  6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ คำนี้มีความหมายมากกว่าสื่อเก่าๆอย่าง Mailing List และ UseNet กล่าวคือหมายรวมถึง E-mail, msn, instant messaging, web, blogและ wiki สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วมกันเรียกว่า collaborative software ในการศึกษาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน ส่วนการจำแนกกลุ่มของซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้น ในตอนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ เครื่องมือที่จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมีลักษณะการใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคมมนุษย์ เช่น การติดต่อสื่อสาร การแบ่งปันความรู้ การจัดการความรู้ เป็นต้น

http://www.vcharkarn.com/uploads/213/214005.jpg


6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร
และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร
สองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web
board , Newsgroup เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่งคือ เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นก
ลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน (synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN เป็นต้น

2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์
เพื่อการจัดการความรู้ มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น
เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการ
ปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนา

6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
1) Blog
Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่
ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลง
บนเว็บไซต์ ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเอง การเขียนวิจารณ์

Blog ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บ, วีดีโอ, ข้อมูลเสียงและอื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็น blog ทั่วๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” บุคคลที่โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”

2) Internet Forum
Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปราย หรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และnewsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของฟอรั่มทั่วไปมี เทคโนโลยี เกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง เป็นต้น

3) Wiki
Wiki อ่านออกเสียง “wicky”, “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เรา
สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือน
แต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกัน
โดยเฉพาะ มีเครื่องมือที่ใช้ทำWiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia , MoinMoin , WackoWiki เป็นต้น

4) Instant Messaging
เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative
privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger , MSN
Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น

5) Social network services
Social network services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้ สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก ตัวอย่างเช่น iKarma, ArtBoom, Orkut, Friendster,
Linkedin, openBC, Facebook, Twitter เป็นต้น
6) Social guides
เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
7) Social bookmarking
บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น

8) Social Citations
มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น CiteUlink เป็นต้น
9) Social Shopping Applications
มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll,
Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere

10) Internet Relay Chat
Internet Relay Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมีหลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้วก็ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้

11) Knowledge Unifying Initiator (KUI)
Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทยหมายถึงการสนทนา โดยคำว่า Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledgeanagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม KUI ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
- Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
- Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
- Public Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย

6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
  ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Socialcomputing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต
   7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ คือ
1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบและสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้วเว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรมเช่น www.yahoo.com www.lycos.com www.sanook.com www.siamguru.com เป็นต้น

2) การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำ�สำ�คัญ (Keywords)
เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ (Keyword)
ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า Spider หรือRobot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพจใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบนามานุกรม แต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย

3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท NaturalLanguage (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)

โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine
indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่ เครื่องมือประเภทนี้เป็นนิยามที่แคบของคำว่า search
engines (นิยามที่กว้างของ search engines คือ เครื่องมือช่วยค้นทุกวิธีที่มีให้บริการในอินเตอร์เน็ต)
http://www.matichon.co.th/online/2011/03/13007007141300700732l.jpg


- Google มีจุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยีการสืบค้นที่รวดเร็ว การเรียงลำดับผลการสืบค้นที่มีความเกี่ยวข้องสูง และการสืบค้นเป็นภาษาท้องถิ่นต่างๆ ในโลกเกือบ 100 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย จึงทำให้ได้รับความนิยมและเครื่องมือสืบค้นหลายตัวที่ใช้เทคโนโลยีของ Google เช่น AOL iWon และ Netscape
เป็นต้น

1) การสืบค้นข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ ซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือเตรียมกลยุทธ์การสืบค้น และ การศึกษาลักษณะการสืบค้นของ Google จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด เช่น ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่เปิดสอนด้าน Management Information Systems หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในประเทศไทยเป็นภาษาไทย ขั้นแรกคือหากใช้คำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ” คำเดียว จะได้ข้อมูลออกมากว้างขวางเกินความต้องการ
ต้องจำกัดด้วยการเพิ่มแง่มุมเฉพาะ เช่น หลักสูตร ซึ่งซอฟแวร์จะนำไปบวกกับคำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ” ผู้ใช้จะได้ผลการสืบค้นที่เฉพาะตรงต่อความต้องการมาก


2) ลักษณะการสืบค้นของ Google
- ไม่จำ�เป็นต้องใส่ตัวเชื่อม and (และ) ระหว่างคำ� โดย Google จะเชื่อมคำอัตโนมัติ
- หาข้อมูลเพิ่มให้ เมื่อใช้ตัวเชื่อม OR (หรอื ) ตัวพิมพ์ใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london ORparis คือหาทั้งใน London และ Paris
- Google จะละคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) และตัวอักษรเดี่ยวเพราะจะทำให้ค้น
ช้าลงถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ต้องเว้นวรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้นเช่น computerprogramming +I

- การค้นหาแบบทั้งวลี (กลุ่มคำ) ให้พิมพ์คำค้นในเครื่องหมายอัญประกาศ (“ “) เช่น “computer
programming I” และ “The King and I”
- Google ค้นหาคำที่มีรากศัพท์เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ เช่น program จะค้นหา ทั้งคำว่า
program, programmer, programming และคำอื่นๆ ที่มีรากศัพท์เดียวกับ program
- Google ตัดคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย – นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ (เว้นหน้า –หลังไม่เว้น) เช่น
คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีถ้าจะตัดเว็บเพจที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออก
ก็พิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีความหมายว่า music นอกจากนี้ยังสามารถตัดสิ่งที่ไม่
ต้องการแสดงในผลลัพธ์ได้ เช่น ขนมไทย -filetype:pdf จะค้นหาเว็บเพจเกี่ยวกับขนมไทยที่ไม่ใช่ไฟล์
นามสกุล .pdf
- Google ค้นหาที่มีความเหมือนกันโดยใช้เครื่องหมาย “~” เช่น ~food จะค้นหาว่า recipeและ
cooking ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ food ให้ด้วย

- Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ เช่น .pdf . xls .doc โดยพิมพ์
filetype : นามสกลุ ของไฟล ์ เชน่ “LAN” filetype:ppt หมายถงึ คน้ หาคำวา่ LAN ทีเ่ ปน็ ไฟลน์ ามสกลุ .ppt
- Google สามารถเก็บหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ได้ โดยคลิกที่ Cached (ถูกเก็บไว้) ประโยชน์
คือช่วยให้เข้าถึงบางเว็บที่โดนลบไปแล้ว โดยจะได้ข้อมูลก่อนถูกลบ